วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โรงเรียนวินิตศึกษา แห่งที่ 2



โครงการจัดตั้งอนุสรณ์สถานพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ
และ ศูนย์เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี



หลักการและเหตุผล


พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ (กิตติ บัวอ่อน ปธ.๘) อดีตเจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี และเจ้าคณะตรวจการคณะสงฆ์ภาค ๖ ได้ก่อตั้งโรงเรียนวินิตศึกษา เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ร่วมกับคณะศิษย์ ๔ คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออุปการะเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ให้มีสถานที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและเพื่อให้เยาวชนไทยได้รับการฝึกอบรมคุณธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องการเผยแผ่ศาสนาให้กับนักเรียนและผู้ปกครองควบคู่กับการเรียนวิชาสามัญ เพื่อเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี อันเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาที่สำคัญประการหนึ่ง

ระยะเริ่มต้นของโรงเรียนวินิตศึกษา สถานที่เรียนใช้ศาลาวัด หอสวดมนต์และกุฏิหลวงพ่อ อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนได้รับความอุปการะบริจาคจากเจ้าอาวาสวัดต่างๆ และพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลพบุรี ครูผู้สอนได้มาจากศิษย์ของหลวงพ่อและข้าราชการครูในจังหวัดลพบุรีบางท่านมาช่วยสอนให้เปล่าโดยไม่คิดเงินค่าจ้างโรงเรียนวินิตศึกษา โดยการบริหารงานของหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ ท่านอุทิศชีวิตการทำงาน ด้วยความเสียสละทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ และสติปัญญา ความรอบรู้ในการจัดการศึกษาทำให้โรงเรียนได้เจริญก้าวหน้าโดยรวดเร็ว ได้รับความเชื่อถือไว้ใจจากทางราชการและประชาชนผู้ปกครองนักเรียนเป็นอย่างดีโดยลำดับจนปัจจุบัน




ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระเมตตารับโรงเรียนวินิตศึกษา ไว้ในพระราชูปถัมภ์ฯ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จศึกษาดูงานบริหารโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทำให้เกิดความ ปลื้มปิติยินดีและเป็นขวัญกำลังใจชาววินิตศึกษา ชาวลพบุรีอย่างหาที่สุดมิได้ จวบจนถึงปัจจุบันโรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในระดับจังหวัดและภูมิภาค มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ สถานที่ไม่เพียงพอกับการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอน ท่านเจ้าคุณพระราชพุทธิวราภรณ์ ผู้รับใบอนุญาต จึงดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนวินิตศึกษาขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ณ บริเวณ ตำบลโพธิ์เก้าต้นและเพื่อเป็นการรำลึกในพระคุณของหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ ผู้ก่อตั้งและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา องค์อุปถัมภ์ โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯจึงทำโครงการจัดตั้งอนุสรณ์สถานพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ และศูนย์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีขึ้น ณ โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ แห่งใหม่ เพื่อสถิตเป็นมิ่งขวัญแก่ชาววินิตศึกษา และชาวลพบุรีตลอดไป




http://winitsuksa.ws.ac.th/


วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ


โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




ประวัติ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๙ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ (กิตติ กิตฺติ ทินฺโน ปธ. ๘) อดีตเจ้าคณะจังหวัดลพบุรีกับคณะศิษย์ ๔ คน ได้จัดตั้งโรงเรียนวินิตศึกษาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนได้รับการศึกษาควบคู่ไปกับการฝึกอบรมคุณธรรมตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้สามารถประกอบสัมมาอาชีพได้และดำรงตนอยู่ในสังคมด้วยคุณธรรมอันดี เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียน ๑๒๐ คน ครู ๗ คน

พ.ศ.๒๔๙๒ กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลและต่อมาได้ ขยายถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
พ.ศ.๒๔๙๓ ได้โอนเข้าเป็นสมบัติของกวิศรารามมูลนิธิ
พ.ศ.๒๕๓๐ ได้โอนเข้าเป็นของวัดกวิศราราม ราชวรวิหาร โรงเรียนวินิตศึกษาจึงมีฐานะเป็นโรงเรี
ยนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับโรงเรียนวินิตศึกษา ไว้ในพระราชูปถัมภ์
พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา เอกชนกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๓๙ โรงเรียนได้นำร่องทดลองจัดโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ สอนบางรายวิชาเป็นภาษาอังกฤ(Bilingual Programme)
พ.ศ.๒๕๔๐ โรงเรียนเป็นโรงเรียนเครือข่าย (Partner Schools) กับ Anderson Secondary Schoolซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงอันดับ ๑ ใน ๕ ของประเทศสิงคโปร์
พ.ศ.๒๕๔๒ โรงเรียนลงนามข้อตกลงโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องกับประเทศออสเตรเลีย คือ โรงเรียน Pitt Water House
พ.ศ.๒๕๔๖ โรงเรียนเริ่มนำร่อง โครงการเตรียมความพร้อมวิชาการทหาร
พ.ศ.๒๕๔๗ โรงเรียนเริ่มนำร่อง โครงการส่งเสริมความเป็นอัจฉริยะด้านวิชาการ
พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๘
พ.ศ.๒๕๕๐ โรงเรียนเริ่มนำร่อง โครงการส่งเสริมความเป็นอัจฉริยะด้านศิลปะการแสดงและด้านกีฬา

ปัจจุบัน โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีครู – อาจารย์ ๑๔๓ คน นักเรียน ๓,๙๕๓ คน และครูชาวต่างประเทศ ๘ คน ครู – อาจารย์ จากสถาบันภายนอกมาสอนในโรงเรียน ๑๓ คน พระภิกษุ ๓ รูป


สถานที่ตั้ง เลขที่ ๑๐ ถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๕๐๐๐
โทร ๐-๓๖๔๑-๑๒๓๕ , ๐-๓๖๔๒-๑๐๘๘ โทรสาร ๐-๓๖๔๒-๑๐๘๘
Information :
http://winitsuksa.ws.ac.th



วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ถนนพระอาทิตย์

ถนนพระอาทิตย์
(Thanon Phra Athit)

เป็นถนนสายรองประธานขนาด 2 ช่องจราจร ในท้องที่แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯมีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุชื่อของถนนพระอาทิตย์นำมาจากป้อมพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นป้อมปราการ1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานี


เดินเที่ยวถนนพระอาทิตย์

สัมผัสบรรยากาศ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กับการเดินเลาะเลียบ ลำน้ำ และอิ่มกับ อาหารอร่อย ก่อนต้อนรับ แสงสียามค่ำ บนถนนพระอาทิตย์ ระยะทางเพียง 1 กิโลเมตรกว่าๆ แต่เดิม เป็นเส้นทางลัด ไปมา ระหว่าง บางลำพู กับท่าพระจันทร์ จุดเริ่มต้น ของถนน พระอาทิตย์ อยู่ตรงป้อม พระสุเมรุ ตัดอ้อมตามโค้งน้ำ ไปจนถึงหน่วยงานบริการ ของการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ที่แต่ก่อนตรงนี้ เป็นครัววังหน้า และก่อนหน้านั้นคือ ป้อมพระอาทิตย์ ที่ชาวบ้านย่านนี้ ให้เป็นเส้นทางลัด เพื่อเดินทะลุเข้ามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ไปท่าพระจันทร์ และท่าช้าง ทุกซอกหลืบ บนถนนสายสั้นๆ เส้นนี้ มีเรื่องราว ในอดีตมากมาย เป็นหนึ่งในถนน ไม่กี่สาย ในกรุงเทพฯ ที่ยังคงมีร่องรอย ของชุมชน และภูมิสถาปัตย์ ดั้งเดิม รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์ ถึงปัจจุบัน





บ้านเจ้าพระยา

เดิมเป็นวังกรมหมื่นสถิตย์ดำรงสวัสดิ์พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมารัฐบาลในสมัย รัชกาลที่ 5 ได้ซื้อที่ดินแล้วสร้างที่ทำการกรมตำรวจ เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบเข้ารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจพระนครบาล ได้ทำเรื่องขอพระราชทานบ้านและที่ดินจากรัชกาลที่ 6 ดังนั้น บริเวณนี้จึงได้เรียกกันว่า "วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ"




บ้านพระอาทิตย์หรือ เกอเธ่

(สถาบันวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน)

ในอดีตเคยเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของผู้ที่สนใจศิลปะ วรรณกรรม ภาพยนตร์และการแสดง แต่เดิมนั้นเป็นบ้านนของเจ้าพระยาวรพงษ์พัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิสรเสนา) ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการสำคัญ คนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5-7 ปัจจุบันอาคารใช้เป็น สำนักงานของบริษัท




การเดินท่องเที่ยว เพื่อชมทัศนียภาพ
ของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไม่ให้ร้อน จนเกินไปน่าจะเริ่ม
ตั้งแต่เวลา 15.00-16.00 น. จึงเป็นช่วงเวลา ที่เหมาะสม
หรือหากจะมา ตั้งแต่กลางวัน ก็แวะลองชิ้มอาหาร ที่เรียงรายอยู่ริม
ถนนพระอาทิตย์ เกือบตลอดทั้งถนนเส้นนี้

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

พาเที่ยวหัวหินในวันวานที่ เพลินวาน




หัวหินวันวาน


The Memories of Classic Romance


จากจุดเริ่มต้นที่มาจากความรักและคิดถึงหัวหินในวันก่อน เพลินวานจึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางจุดหมายการเดินทางแห่งใหม่ของคนหัวหินและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน เพลินวานคือ... “ศูนย์รวมความสุข สถานที่... หยุดเวลาในอดีตไว้ เพื่อเล่าขานเรื่องราวมากมายของวิถีหัวหินกาลก่อน ...สู่กาลปัจจุบัน”


ในความทรงจำ...


“สมัยก่อนหัวหินเป็นเมืองเงียบ คนไม่พลุกพล่าน มีต้นไม้ใหญ่ การเดินทางสะดวกเพราะสามารถนั่งรถไฟไปได้ สมัยเด็กเวลามาถึงหัวหินจะชอบเก็บเม็ดมะกล่ำตาหนู ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มาเล่นกับพี่น้อง และเก็บดอกลั่นทมมาร้อยเป็นมาลัย แม่โตมากับหัวหิน ซึ่งเป็นที่พบปะของหนุ่มสาว ที่นิยมไปเที่ยวกัน นั่งรถไฟไปด้วยกันนานๆ ได้ชื่นชมเมืองสองฝั่งรถไฟ และเรื่องราวการเดินทางโดยรถไฟไปหัวหิน ทำเป็นนิยายรักหวานชื่นดีๆ ได้เล่มหนึ่งเลยทีเดียว”


เรื่องเล่า...รถไฟ...


รำลึกว่ากันว่าสถานีรถไฟหัวหินเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวอำเภอหัวหินเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเสมือนที่ประวัติศาสตร์ เก็บหัวรถจักรไอน้ำเก่าแก่ ที่การรถไฟสั่งซื้อมาจากประเทศอังกฤษ


ตลาด...


ผู้คนพูดถึงหัวหินว่า “เป็นอำเภอสำคัญในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญมากมาย แต่มีเพียงอำเภอหัวหินเท่านั้น ที่ “ตลาด" เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันลือชื่อ เช่น ตลาดโต้รุ่งหัวหิน แหล่งรวมอาหารนานาชาติสำหรับยามราตรี ยังมีตลาดฉัตรไชย ตลาดเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมา แต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 7"


ทำไม? เพลินวานเพลิน

ตากับแฟชั่นเปรี้ยวๆ...วันวาน ห้องเสื้อไฉไล
หอมกลิ่นไอ รสละมุนของ กาแฟคลาสสิค
ข้าวอุ่น แกงร้อน.. อาหารเลื่องชื่อตำรับหัวหิน
ร้อนนัก...พักร้อน ลิ้มรสหวานเย็นให้ชื่นใจ

ของเล่นวัยเด็ก...ความสุขเล็ก ๆ ที่ไม่เคยลืมเลือน
เลือกซื้อเทปคาสเซทเพลงเพราะๆ ของวันวาน
วิดีโอหนังรักวัยหวาน ใบปิดหนังดังรวมดารา...ให้เลือกสะสม
ย้อนยุคบรรยากาศเก่าๆ ดูหนังดัง...กางแปลง
โฟโต้...กับมุมเก่าๆชวนให้คิดถึง
พร้อมเก็บภาพเป็นที่ระลึกอีกครั้ง...กันลืม
แล้วแวะส่งโปสการ์ดหาเพื่อนที่ไม่ได้มาให้อิจฉาเล่น
นอนหลับฝันดี ที่...เพลินวาน


ห้างร้านเพลินวาน ห้องเสื้อไฉไลโรงเหล้าร้านกาแฟร้านจิปาถะร้านหวานเย็น

เปิด จัทร์-พฤหัส 10.00-22.00 น.ศุกร์ 10.00-24.00 น.เสาร์ 09.00-24.00 น.
อาทิตย์ 09.00-22.00 น.
ติดต่อ กรุงเทพฯ 02-712-8891หัวหิน 032-520-312