วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ถนนพระอาทิตย์

ถนนพระอาทิตย์
(Thanon Phra Athit)

เป็นถนนสายรองประธานขนาด 2 ช่องจราจร ในท้องที่แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯมีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุชื่อของถนนพระอาทิตย์นำมาจากป้อมพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นป้อมปราการ1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานี


เดินเที่ยวถนนพระอาทิตย์

สัมผัสบรรยากาศ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กับการเดินเลาะเลียบ ลำน้ำ และอิ่มกับ อาหารอร่อย ก่อนต้อนรับ แสงสียามค่ำ บนถนนพระอาทิตย์ ระยะทางเพียง 1 กิโลเมตรกว่าๆ แต่เดิม เป็นเส้นทางลัด ไปมา ระหว่าง บางลำพู กับท่าพระจันทร์ จุดเริ่มต้น ของถนน พระอาทิตย์ อยู่ตรงป้อม พระสุเมรุ ตัดอ้อมตามโค้งน้ำ ไปจนถึงหน่วยงานบริการ ของการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ที่แต่ก่อนตรงนี้ เป็นครัววังหน้า และก่อนหน้านั้นคือ ป้อมพระอาทิตย์ ที่ชาวบ้านย่านนี้ ให้เป็นเส้นทางลัด เพื่อเดินทะลุเข้ามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ไปท่าพระจันทร์ และท่าช้าง ทุกซอกหลืบ บนถนนสายสั้นๆ เส้นนี้ มีเรื่องราว ในอดีตมากมาย เป็นหนึ่งในถนน ไม่กี่สาย ในกรุงเทพฯ ที่ยังคงมีร่องรอย ของชุมชน และภูมิสถาปัตย์ ดั้งเดิม รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์ ถึงปัจจุบัน





บ้านเจ้าพระยา

เดิมเป็นวังกรมหมื่นสถิตย์ดำรงสวัสดิ์พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมารัฐบาลในสมัย รัชกาลที่ 5 ได้ซื้อที่ดินแล้วสร้างที่ทำการกรมตำรวจ เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบเข้ารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจพระนครบาล ได้ทำเรื่องขอพระราชทานบ้านและที่ดินจากรัชกาลที่ 6 ดังนั้น บริเวณนี้จึงได้เรียกกันว่า "วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ"




บ้านพระอาทิตย์หรือ เกอเธ่

(สถาบันวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน)

ในอดีตเคยเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของผู้ที่สนใจศิลปะ วรรณกรรม ภาพยนตร์และการแสดง แต่เดิมนั้นเป็นบ้านนของเจ้าพระยาวรพงษ์พัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิสรเสนา) ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการสำคัญ คนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5-7 ปัจจุบันอาคารใช้เป็น สำนักงานของบริษัท




การเดินท่องเที่ยว เพื่อชมทัศนียภาพ
ของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไม่ให้ร้อน จนเกินไปน่าจะเริ่ม
ตั้งแต่เวลา 15.00-16.00 น. จึงเป็นช่วงเวลา ที่เหมาะสม
หรือหากจะมา ตั้งแต่กลางวัน ก็แวะลองชิ้มอาหาร ที่เรียงรายอยู่ริม
ถนนพระอาทิตย์ เกือบตลอดทั้งถนนเส้นนี้

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

พาเที่ยวหัวหินในวันวานที่ เพลินวาน




หัวหินวันวาน


The Memories of Classic Romance


จากจุดเริ่มต้นที่มาจากความรักและคิดถึงหัวหินในวันก่อน เพลินวานจึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางจุดหมายการเดินทางแห่งใหม่ของคนหัวหินและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน เพลินวานคือ... “ศูนย์รวมความสุข สถานที่... หยุดเวลาในอดีตไว้ เพื่อเล่าขานเรื่องราวมากมายของวิถีหัวหินกาลก่อน ...สู่กาลปัจจุบัน”


ในความทรงจำ...


“สมัยก่อนหัวหินเป็นเมืองเงียบ คนไม่พลุกพล่าน มีต้นไม้ใหญ่ การเดินทางสะดวกเพราะสามารถนั่งรถไฟไปได้ สมัยเด็กเวลามาถึงหัวหินจะชอบเก็บเม็ดมะกล่ำตาหนู ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มาเล่นกับพี่น้อง และเก็บดอกลั่นทมมาร้อยเป็นมาลัย แม่โตมากับหัวหิน ซึ่งเป็นที่พบปะของหนุ่มสาว ที่นิยมไปเที่ยวกัน นั่งรถไฟไปด้วยกันนานๆ ได้ชื่นชมเมืองสองฝั่งรถไฟ และเรื่องราวการเดินทางโดยรถไฟไปหัวหิน ทำเป็นนิยายรักหวานชื่นดีๆ ได้เล่มหนึ่งเลยทีเดียว”


เรื่องเล่า...รถไฟ...


รำลึกว่ากันว่าสถานีรถไฟหัวหินเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวอำเภอหัวหินเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเสมือนที่ประวัติศาสตร์ เก็บหัวรถจักรไอน้ำเก่าแก่ ที่การรถไฟสั่งซื้อมาจากประเทศอังกฤษ


ตลาด...


ผู้คนพูดถึงหัวหินว่า “เป็นอำเภอสำคัญในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญมากมาย แต่มีเพียงอำเภอหัวหินเท่านั้น ที่ “ตลาด" เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันลือชื่อ เช่น ตลาดโต้รุ่งหัวหิน แหล่งรวมอาหารนานาชาติสำหรับยามราตรี ยังมีตลาดฉัตรไชย ตลาดเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมา แต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 7"


ทำไม? เพลินวานเพลิน

ตากับแฟชั่นเปรี้ยวๆ...วันวาน ห้องเสื้อไฉไล
หอมกลิ่นไอ รสละมุนของ กาแฟคลาสสิค
ข้าวอุ่น แกงร้อน.. อาหารเลื่องชื่อตำรับหัวหิน
ร้อนนัก...พักร้อน ลิ้มรสหวานเย็นให้ชื่นใจ

ของเล่นวัยเด็ก...ความสุขเล็ก ๆ ที่ไม่เคยลืมเลือน
เลือกซื้อเทปคาสเซทเพลงเพราะๆ ของวันวาน
วิดีโอหนังรักวัยหวาน ใบปิดหนังดังรวมดารา...ให้เลือกสะสม
ย้อนยุคบรรยากาศเก่าๆ ดูหนังดัง...กางแปลง
โฟโต้...กับมุมเก่าๆชวนให้คิดถึง
พร้อมเก็บภาพเป็นที่ระลึกอีกครั้ง...กันลืม
แล้วแวะส่งโปสการ์ดหาเพื่อนที่ไม่ได้มาให้อิจฉาเล่น
นอนหลับฝันดี ที่...เพลินวาน


ห้างร้านเพลินวาน ห้องเสื้อไฉไลโรงเหล้าร้านกาแฟร้านจิปาถะร้านหวานเย็น

เปิด จัทร์-พฤหัส 10.00-22.00 น.ศุกร์ 10.00-24.00 น.เสาร์ 09.00-24.00 น.
อาทิตย์ 09.00-22.00 น.
ติดต่อ กรุงเทพฯ 02-712-8891หัวหิน 032-520-312