วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โรงเรียนวินิตศึกษา แห่งที่ 2



โครงการจัดตั้งอนุสรณ์สถานพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ
และ ศูนย์เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี



หลักการและเหตุผล


พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ (กิตติ บัวอ่อน ปธ.๘) อดีตเจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี และเจ้าคณะตรวจการคณะสงฆ์ภาค ๖ ได้ก่อตั้งโรงเรียนวินิตศึกษา เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ร่วมกับคณะศิษย์ ๔ คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออุปการะเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ให้มีสถานที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและเพื่อให้เยาวชนไทยได้รับการฝึกอบรมคุณธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องการเผยแผ่ศาสนาให้กับนักเรียนและผู้ปกครองควบคู่กับการเรียนวิชาสามัญ เพื่อเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี อันเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาที่สำคัญประการหนึ่ง

ระยะเริ่มต้นของโรงเรียนวินิตศึกษา สถานที่เรียนใช้ศาลาวัด หอสวดมนต์และกุฏิหลวงพ่อ อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนได้รับความอุปการะบริจาคจากเจ้าอาวาสวัดต่างๆ และพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลพบุรี ครูผู้สอนได้มาจากศิษย์ของหลวงพ่อและข้าราชการครูในจังหวัดลพบุรีบางท่านมาช่วยสอนให้เปล่าโดยไม่คิดเงินค่าจ้างโรงเรียนวินิตศึกษา โดยการบริหารงานของหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ ท่านอุทิศชีวิตการทำงาน ด้วยความเสียสละทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ และสติปัญญา ความรอบรู้ในการจัดการศึกษาทำให้โรงเรียนได้เจริญก้าวหน้าโดยรวดเร็ว ได้รับความเชื่อถือไว้ใจจากทางราชการและประชาชนผู้ปกครองนักเรียนเป็นอย่างดีโดยลำดับจนปัจจุบัน




ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระเมตตารับโรงเรียนวินิตศึกษา ไว้ในพระราชูปถัมภ์ฯ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จศึกษาดูงานบริหารโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทำให้เกิดความ ปลื้มปิติยินดีและเป็นขวัญกำลังใจชาววินิตศึกษา ชาวลพบุรีอย่างหาที่สุดมิได้ จวบจนถึงปัจจุบันโรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในระดับจังหวัดและภูมิภาค มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ สถานที่ไม่เพียงพอกับการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอน ท่านเจ้าคุณพระราชพุทธิวราภรณ์ ผู้รับใบอนุญาต จึงดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนวินิตศึกษาขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ณ บริเวณ ตำบลโพธิ์เก้าต้นและเพื่อเป็นการรำลึกในพระคุณของหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ ผู้ก่อตั้งและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา องค์อุปถัมภ์ โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯจึงทำโครงการจัดตั้งอนุสรณ์สถานพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ และศูนย์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีขึ้น ณ โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ แห่งใหม่ เพื่อสถิตเป็นมิ่งขวัญแก่ชาววินิตศึกษา และชาวลพบุรีตลอดไป




http://winitsuksa.ws.ac.th/


วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ


โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




ประวัติ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๙ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ (กิตติ กิตฺติ ทินฺโน ปธ. ๘) อดีตเจ้าคณะจังหวัดลพบุรีกับคณะศิษย์ ๔ คน ได้จัดตั้งโรงเรียนวินิตศึกษาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนได้รับการศึกษาควบคู่ไปกับการฝึกอบรมคุณธรรมตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้สามารถประกอบสัมมาอาชีพได้และดำรงตนอยู่ในสังคมด้วยคุณธรรมอันดี เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียน ๑๒๐ คน ครู ๗ คน

พ.ศ.๒๔๙๒ กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลและต่อมาได้ ขยายถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
พ.ศ.๒๔๙๓ ได้โอนเข้าเป็นสมบัติของกวิศรารามมูลนิธิ
พ.ศ.๒๕๓๐ ได้โอนเข้าเป็นของวัดกวิศราราม ราชวรวิหาร โรงเรียนวินิตศึกษาจึงมีฐานะเป็นโรงเรี
ยนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับโรงเรียนวินิตศึกษา ไว้ในพระราชูปถัมภ์
พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา เอกชนกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๓๙ โรงเรียนได้นำร่องทดลองจัดโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ สอนบางรายวิชาเป็นภาษาอังกฤ(Bilingual Programme)
พ.ศ.๒๕๔๐ โรงเรียนเป็นโรงเรียนเครือข่าย (Partner Schools) กับ Anderson Secondary Schoolซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงอันดับ ๑ ใน ๕ ของประเทศสิงคโปร์
พ.ศ.๒๕๔๒ โรงเรียนลงนามข้อตกลงโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องกับประเทศออสเตรเลีย คือ โรงเรียน Pitt Water House
พ.ศ.๒๕๔๖ โรงเรียนเริ่มนำร่อง โครงการเตรียมความพร้อมวิชาการทหาร
พ.ศ.๒๕๔๗ โรงเรียนเริ่มนำร่อง โครงการส่งเสริมความเป็นอัจฉริยะด้านวิชาการ
พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๘
พ.ศ.๒๕๕๐ โรงเรียนเริ่มนำร่อง โครงการส่งเสริมความเป็นอัจฉริยะด้านศิลปะการแสดงและด้านกีฬา

ปัจจุบัน โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีครู – อาจารย์ ๑๔๓ คน นักเรียน ๓,๙๕๓ คน และครูชาวต่างประเทศ ๘ คน ครู – อาจารย์ จากสถาบันภายนอกมาสอนในโรงเรียน ๑๓ คน พระภิกษุ ๓ รูป


สถานที่ตั้ง เลขที่ ๑๐ ถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๕๐๐๐
โทร ๐-๓๖๔๑-๑๒๓๕ , ๐-๓๖๔๒-๑๐๘๘ โทรสาร ๐-๓๖๔๒-๑๐๘๘
Information :
http://winitsuksa.ws.ac.th